Master Bearings

DGBB | SABB | ACBB | CRB | SRB | CARB | TRB| TBB | CRTB/NRTB| SRTB | Y-BEARING | HOUSING | SLEEVES| PLAIN | NRB
Radial shaft | Mechanical | V-ring| Axial clamp| Wear sleeves| Other
Roller Chains | Couplings | Pulley | Optibelt
Linear Motion System | Sensorized Units
RS | Online | Aptitude

Optibelt

การตรวจเช็คระบบกำลังงานด้วยสายพาน

Optibelt Laser Pointer

การพลิกตัวของสายพานหรือการหลุดออกจากมู่เล่ย์ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องแนวของสายพาน มู่เล่ย์ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องแนวของสายพาน การเยื้องแนวมี 3 ลักษณะคือ การเยื้องแนวในแนวขนาน การเยื้องแนวในแนวราบ และการเยื้องแนวแบบหักเหในแนวตั้ง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากสาเหตุหลักคือ

 

1. การเกิดเยื้องแนวของสายพาน

 

2. การตั้งค่าความตึงไม่ถูกต้องและไม่สัมพันธ์กับ Load ที่ใช้

 

3. ร่องของมู่เล่ย์เกิดการสึกหรอ สามสาเหตุหลักนี้สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องกับลักษณะของงาน

การตรวจวัดค่าแรงดึงของสายพานด้วย Optikrik

การใช้เครื่องมือ Optikrik ตรวจสอบค่าความตึงทำให้แก้ปัญหาสายพานลื่นไหล (slip) ได้ เนื่องจากการลื่นไหลเกิดจากสายพานที่มีความตึงไม่สัมพันธ์กับ load กับการใช้งาน ซึ่งค่าความตึงของสายพานแต่ละขนาดไม่เหมือนกัน ดังนั้น Optikrik จึงมีให้เลือกใช้ได้ถึง 4 ชนิด ดังนี้

Optikrik 0 ช่วงการทำงาน 10 – 15 N

Optikrik 1 ช่วงการทำงาน 150 – 600 N

Optikrik 2 ช่วงการทำงาน 500 – 1400 N

Optikrik 3 ช่วงการทำงาน 1300 – 3000 N

ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องกับลักษณะของ load การใช้งาน

 

V – Belt Pulley Gauge

การพลิกและการเต้นของสายพานไม่ได้อยู่กับการเยื้องแนวเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับร่องของมู่เล่ย์ด้วย ถ้าร่องของมู่เล่ย์สึกหรอหรือจมลึกไม่เท่ากัน ก็ทำให้สายพานเกิดการเต้น และตึงหย่อนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ควรตรวจสอบด้วย V – Belt Pulley Gauge เพราะมุมของมู่เล่ย์ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมู่เล่ย์ โดยทั่วไปมุมของร่องมู่เล่ย์จะอยู่ที่ 32 องศา, 34 องศา, 36 องศา, 38 องศา สำหรับสายพานระบบ BS3790 และ DIN2217 และมุม 36 องศา, 38 องศา, 40 องศา, 42 องศา สำหรับระบบ USA Standard RMA/MPTA